วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2555

กันแดดรังสีUV

ก่อนอื่นมารู้จักรังสี UV กันก่อนครับ
รังสีอัลตราไวโอเลต หรือ รังสียูวี (อังกฤษ: Ultraviolet) หรือในชื่อภาษาไทยว่า รังสีเหนือม่วง เป็นช่วงหนึ่งของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นสั้นกว่าแสงที่มองเห็น แต่ยาวกว่ารังสีเอกซ์อย่างอ่อน มีความยาวคลื่นในช่วง 400-10 นาโนเมตร และมีพลังงานในช่วง 3-124 eV
มันได้ชื่อดังกล่าวเนื่องจากสเปกตรัมของมันประกอบด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูงกว่าคลื่นที่มนุษย์มองเห็นเป็นสีม่วง
การรับรังสีอัลตราไวโอเลตมากเกินควร ก่อให้เกิดอันตรายกับระบบต่าง ๆ ของร่างกายได้ รังสีอัลตราไวโอเลตในช่วง UVC มีพลังงานสูงที่สุด และที่สำคัญคืออันตรายที่สุด แต่พบได้น้อยเพราะบรรยากาศกรองเอาไปหมดแล้ว ทว่าเครื่องมือฆ่าเชื้อในน้ำดื่มอาจปล่อยรังสีช่วงนี้ออกมาก็ได้
รังสีอัลตราไวโอเลตทั้งสามชนิดคือ
UVA, UVB และ UVC สามารถทำให้คอลลาเจนในผิวหนังเสื่อมสภาพได้ ซึ่งเป็นเหตุหนึ่งให้เกิดริ้วรอยก่อนวัย แต่ UVA มีความรุนแรงน้อยที่สุด เพราะไม่สามารถก่อให้เกิดอาการแดดเผา (sunburn) ทว่ายังน่ากลัวอยู่ที่สามารถแปลงสภาพ DNA ได้ จนอาจก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนัง แต่ร่างกายก็สามารถป้องกันได้ โดยการสร้างเม็ดสีเมลานินขึ้นมา เพื่อป้องกันการทะลวงของยูวี จึงทำให้ผิวคล้ำดำมากขึ้น
นอกจากผิวหนังแล้ว ยูวียังเป็นอันตรายต่อดวงตา โดยเฉพาะ
UVB ทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า arc eye คือรู้สึกเหมือนมีทรายเข้าตา หรือถ้ารุนแรงกว่านั้นอาจทำให้เป็นโรคต้อกระจก (cataract) ได้ โดยเฉพาะในหมู่ช่างเชื่อมโลหะ การป้องกันก็คือ สวมใส่แว่นป้องกัน หรือทาโลชั่นที่มีค่า SPF สูงๆ


และคำถามที่พบบ่อยมากคือ รังสี UVA กับ UVB ต่างกันอย่างไร
จากที่กล่าวไปแล้วว่า รังสี UV คือรังสีคลื่นความถี่สั้น มีพลังงานมากที่สุดในบรรดารังสีที่ส่องจากดวงอาทิตย์ถึงพื้นโลก UVA และ UVB ส่องถึงพื้นโลกโดยไม่ถูกชั้นบรรยากาศดูดซับเอาไว้และยังมี
แนวโน้มที่จะเพิ่ม มากขึ้นเนื่องจากชั้นบรรยากาศที่ถูกทำลาย
รายงานกล่าวว่าความไวในการรับรังสี UV ของผู้ชายมีมากกว่าผู้หญิง อัตราความ
เสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งผิวหนังจึงมีสูงกว่า ในปัจจุบันจึงให้ความสำคัญของการป้องกัน
รังสี UV เนื่องจากผลกระทบที่มีต่อทั้งผิวสวยและสุขภาพร่างกาย



รังสี UVA เป็นรังสีที่มีช่วงคลื่นยาว พลังงานต่ำ ทำให้ผิวหนังมีสีคล้ำ แดง เป็นรังสียูวีที่พบใน
ชีวิตประจำวัน ลอดผ่านกระจกและเมฆ เข้าถึงภายในชั้นผิว เป็นสาเหตุที่นำไปสู่ "ความ
ร่วงโรยของผิว" เช่น รอยเหี่ยวย่น, ผิวหย่อนยาน

รังสี UVB เป็นรังสีที่มีช่วงคลื่นสั้น พลังงานสูง สามารถทำให้เกิดผิวไหม้ บวมแดง และหากได้รับรังสีเป็นระยะเวลายาวนาน อาจทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ เป็นรังสียูวีในสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ เป็นสาเหตุของการคล้ำแดดกลางแจ้งส่งผลอย่างรุนแรงกับผิว ถ้าได้รับมากจะทำให้ผิวแสบแดงอักเสบและเป็นสาเหตุของฝ้ากระและความแห้งกร้าน

ดังนั้นเราจึงต้องป้องกันรังสี UVA และ UVB โดยการทาครีมกันแดด ส่วนผสมในครีมกันแดดจะทำหน้าที่ในการปกป้องผิวจากรังสี UV ด้วยการดูดซับรังสี, ป้องกันแสง UV ไม่ให้ผ่านเข้าไปถึงชั้นผิว หรือทำให้รังสี UV แตกกระจายออกไปเพื่อไม่ให้เข้าทำร้ายผิวโดยตรง สำหรับคำแนะนำในการใช้ครีมกันแดด ครีมกันแดด ที่ดีที่สุด คือครีมกันแดดที่สามารถที่จะป้องกันแสง UV ได้เพียงพอ (ซึ่งอาจจะขึ้นกับความแรงของแสง) เพื่อให้ได้ผลดีที่สุด ควรทาครีมกันแดดก่อนออกไปสู่ที่มีแสงแดด 30 นาที (ส่วนใหญ่มักจะพบคำแนะนำนี้ตามขวดของครีมกันแดดกันนะ)
ซึ่งการเลือกซื้อครีมกันแดดมีค่าที่ต้องพิจารณาประกอบการซื้อดังนี้
1.      ค่า PA
ครีมกันแดดใหม่ ๆ ที่วางขายกันในตลาดมักประกอบไปด้วย UVA Filter และค่าที่วัดการป้องกันรังสี UVA เรียกว่า PA
PA ย่อมาจากคำว่า Protection Grade of UVA ในขณะนี้ยังไม่มีหน่วยวัดที่เป็นมาตรฐานในการวัดค่าการดูดซืมของรังสี UVA ดังนั้นจึงถือเอาคำว่า PA เป็นหน่วยวัดรังสี UVA อย่างไม่เป็นทางการ
ค่า PA นั้นจะมี 3 ระดับคือ PA+, PA++ และ PA+++
PA+++ นั้นสำหรับผู้ที่ต้องการ การปกป้องสูง (เจอกับแสงแดดจัด ๆ เป็นเวลานาน)
PA+ สำหรับผู้ที่ต้องการปกปกแสงแดด จากกิจกรรมทั่ว ๆไป (อาจจะไม่ได้เจอกับแสงมากนัก)
ดังนั้นสำหรับใครที่จะต้องเจอกับแสงแดดเป็นเวลาหลายชั่วโมง ให้เลือก PA++ หรือ สูงกว่านี้     

ซึ่งยังมีค่าการวัดของทางประเทศฝรั่งเศส เป็นค่าในการวัดความาสามารถ ในการปกป้องรังสี UVA คือ IPD และ PPD ซึ่งความแตกต่างของค่าสองชนิดนี้ มีดังนี้
1.       IPD: เป็นการวัดความสามารถ ในการปกป้องรังสี UVA โดยทำการทดสอบเริ่มตั้งแต่ 1 นาทีแรก หลังจากที่ผิวหนังถูกแสงแดด จึงเสมือนเป็นการวัดรอยดำของเม็ดสีบนผิวหนัง แบบชั่วคราวเท่านั้น
IPD ย่อมาจาก Immediate Pigment Darkening คือค่าในการปกป้องผิวจากรังสี UV-A ที่มีผลกับผิวในทันที โดยมีค่าหลากหลายตั้งแต่หลัก 10 ถึงหลัก 100 แต่โดยปรกติค่านี้ไม่ค่อยมีความสำคัญเท่าไหร่ ไม่จำเป็นต้องไปดูมากครับ และผลิตภัณฑ์กันแดดหลายๆตัวก็ไม่ได้ระบุค่านี้เอาไว้ด้วย

2. PPD:
เป็นการวัดความสามารถ ในการปกป้องรังสี UVA โดยทำการทดสอบหลังจากผิวหนัง ถูกแสงแดดเป็นระยะเวลา 2 ชั่วโมง จึงเป็นการวัดรอยดำของเม็ดสี ที่เกิดขึ้นอย่างถาวร
PPD ย่อมาจาก Persistent Pigment Darkening คือค่าในการปกป้องผิวจากรังสี UV-A ที่มีผลกับผิวในระยะยาว นั่นก็คือการออกแดดหลายๆชั่วโมงตามปรกติในชีวิตประจำวันของเรานั่นเอง ดังนั้นค่านี้จึงถือเป็นค่าที่เราควรให้ความสนใจมากที่สุด ระดับของค่าก็มีตั้งแต่ระดับต่ำ 1-2 จนกระทั้งถึงประมาณ 30 กว่า โดยปรกติจะถือว่า (+ การสังเกตเองจากที่วางขายตามท้องตลาด)

- PPD ระดับตั้งแต่ 1-2 สามารถปกป้องผิวจากรังสี UV-A ได้ในระดับต่ำ
- PPD ระดับตั้งแต่ 4-8 สามารถปกป้องผิวจากรังสี UV-A ได้ในระดับกลาง
- PPD ระดับตั้งแต่10-18 สามารถปกป้องผิวจากรังสี UV-A ได้ในระดับสูง
- PPD ระดับตั้งแต่ 20-28 สามารถปกป้องผิวจากรังสี UV-A ได้ในระดับสูงมาก

ดังนั้นสำหรับกันแดดของที่ผลิตจากฝรั่งเศส หรือในยุโรป หรือที่ส่งออกไปยังประเทศในทวีปอื่นๆด้วย ให้เลือกแบบที่มีค่า PPD ตั้งแต่ 10-28 จะดีที่สุดครับ

2.      ค่า SPF
SPF ย่อมาจาก Sun Protection Factor โดยค่าของการปกป้องแสงแดด ถูกกำหนดด้วยระบบของ SPF เอง โดยส่วนใหญ่จะคำนวณจากปริมาณจากการป้องกันรังสี UVB
ตัวเลขของ SPF บ่งบอกถึงความสามารถในการปกป้องผิวจากการถูกเผาไหม้จากแสงแดด ได้นานเท่าไหร่ เช่น SPF15 หมายถึง ป้องกันผิวจากการไหม้ได้ 15 เท่า เช่น ปกติคุณออกไปสู่แดดโดยไมได้ทาครีมกันแดดแล้วผิวไหม้ภายใน 20 นาที ถ้าหาก ทาครีมกันแดด SPF15 แล้ว จะทำให้การที่ผิวจะถูกแสดงแดดทำลายผิวให้ไหม้นั้น ต้องใช้เวลา เป็น 15 เท่าของ 20 นาที หรือ ประมาณ 300 นาที (5 ชั่วโมง) ผิวถึงจะถูกไหม้จากแสงแดด (บางแห่งใช้ค่าที่ 30 นาที ในการคำนวณ, SPF15 = 15*30=450 นาที)
ทำไม SPF สูง ก็ไม่ได้ดีกว่าเสมอไป
โดยทั่วไป ครีมกันแดด SPF ประมาณ 15 ก็เพียงพอแล้วสำหรับคนทั่ว ๆ ไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนในแถบเอเชียอย่างเรา แต่สำหรับคนที่ผิวไวต่อแดด หรือถูกผิวถูแผดเผาให้หมองคล้ำได้ง่ายนั้น ใช้ SPF 30 ก็ถือว่าเพียงพอที่จะปกป้องผิวได้แล้ว แต่ถ้าอยากใช้ที่มีค่า SPF เยอะกว่านี้ ก็ไม่ว่ากันค่ะ
1. การใช้ค่า MED นี้ อาจไม่สะท้อนถึงประสิทธิภาพภายในการป้องกันผิวหนัง จากการทำลายของแสงแดด นั่นคือยากันแดดถึงจะป้องกันไม่ให้ผิวหนังแดงได้ แต่ก็ยังอาจเกิดการเสื่อมของผิวหนังขึ้นแล้ว
2. ปริมาณของการใช้ยากันแดดในการหาค่ามาตรฐาน คือ ต้องทายากันแดด 2 มิลลิกรัมต่อเนื้อที่ผิวหนัง 1 ตารางเซนติเมตรนั้น นับว่ามากกว่าปริมาณการใช้ในชีวิตจริง คนปกติจะทายากันแดดแค่ 0.5 ถึง 1 มิลลิกรัมต่อเนื้อที่ผิวหนัง 1 ตารางเซนติเมตรเท่านั้น ทั้งนี้เพราะ หากทายากันแดดมากไปจะเกิดปัญหาด้านความมันและความสวยงาม

สำหรับยากันแดดชนิดที่ละลายน้ำได้น้อยนั้น มีชื่อคือ
Water resistant หมายถึงการหาค่า SPF หลังอยู่ในน้ำ 40 นาที
Waterproof (=very water resistant) หมายถึงการหาค่า SPF หลังอยู่ในน้ำ 80 นาที

โดยการใช้ยากันแดดตามค่า SPF นี้มักดูตามลักษณะของสีผิวคือ
1. ถ้าผิวไหม้แดดง่าย โดยผิวเปลี่ยนเป็นสีแทนยาก ใช้ค่า SPF 20-30 (Ultra high)
2. ถ้าผิวไหม้แดดง่าย โดยผิวอาจมีสีแทนนิดหน่อย ใช่ค่า SPF 12-20 (Very high)
3. ถ้าผิวไหม้แดดปานกลาง และผิวค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีแทนใช้ค่า SPF 8-12 (High)
4. ถ้าผิวไหม้แดดได้น้อย และผิวเปลี่ยนเป็นสีแทนได้เสมอ ใช่ค่า SPF 4-8 (Moderate)
5. ถ้าผิวไหม้แดดยากมาก และผิวเปลี่ยนเป็นสีแทนได้อย่างมาก ใช้ค่า SPF 2-4 (Minimal)
ถ้าดูตามนี้จริงๆ แล้ว อย่างผมซึ่งน่าจะจัดว่าอยู่ในกลุ่มที่ 5 คือโดนแดดอย่างไร ก็ไม่ไหม้เสียที จะมีก็แต่ผิวคล้ำดำปี๋ ก็ควรจะใช้ SPF แค่ 2-4 เท่านั้นเอง

เมื่อดูจากค่า SPF และปริมาณการดูดซับรังสียูวีบี พบว่า
ค่า SPF เท่ากับ 2 จะดูดซับ UVB ได้ 50%
ค่า SPF เท่ากับ 4 จะดูดซับ UVB ได้ 75%
ค่า SPF เท่ากับ 8 จะดูดซับ UVB ได้ 87.5%
ค่า SPF เท่ากับ 15 จะดูดซับ UVB ได้ 93.3%
ค่า SPF เท่ากับ 20 จะดูดซับ UVB ได้ 95%
ค่า SPF เท่ากับ 30 จะดูดซับ UVB ได้ 96.7%
ค่า SPF เท่ากับ 45 จะดูดซับ UVB ได้ 97.8%
ค่า SPF เท่ากับ 50 จะดูดซับ UVB ได้ 98%

จะเห็นว่า ค่า SPF หลังจาก 30 แล้ว ค่าที่จะป้องกัน แสง UV ก็ไมได้เพิ่มขึ้นมากเท่ากับ SPF ที่เพิ่มขึ้น เมื่อผู้บริโภคตระหนักถึงความสำคัญของครีมกันแดดแล้ว ก็จะคิดว่า ถ้าหากค่า SPF สูง ๆ ย่อมที่จะป้องกันแสงแดดได้ดีกว่าแน่นอน เราจึงเห็นครีมกันแดดที่มีค่า SPF มากกว่า 100 ขายกันอยู่ เพื่อเป็นจุดขาย ซึ่งเป็นเรื่องที่ดูตลกมากๆ
ค่า SPF สูง ๆ นั้น ไม่ได้หมายความว่า จะปกป้องแสดงแดดได้ดีไปกว่า ค่า SPF ที่ต่ำกว่า ในความเป็นจริงแล้ว ค่า SPF สูง ๆ นั้นจะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังสำหรับคนที่มีผิวแพ้ง่าย และยังเป็นไปไปได้ว่าอาจจะมีผลข้างเคียงที่อาจจะก่อให้เกิดอาการแพ้เช่นอาจจะเกิดผดผื่นคันได้ นอกจากนี้ยังอาจจะทำให้สีผิวของเราไม่สม่ำเสมอ เกิดรอยด่างขึ้นได้ และยังอาจจะทำให้เสื้อผ้าเป็นคราบสีเหลืองติดเสื้อผ้าอีกด้วย
จึงแนะนำว่าควรใช้ยากันแดดค่า SPF สูง (30 ขึ้นไป) ในกรณีที่ต้องตากแดด เป็นเวลานานติดต่อกันและใช้ค่า SPF ต่ำ ในกรณีที่โดนแดดเป็นครั้งคราวระหว่างวัน

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น